คำอธิบาย
ระยะเวลาการจัดทำ 7-15 วัน สามารถขอเลขระหว่างรอการผลิตเสร็จได้
เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน อย.
สำหรับลูกค้าที่ต้องการให้ทางเราจดแจ้ง อย. ให้ในนามของท่าน
เอกสารที่ต้องจัดเตรียมมีดังต่อไปนี้
นิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลนั้น
- สำเนาทะเบียนบ้านของสำนักงานที่ระบุตามหนังสือการจดทะเบียนนิติบุคคล
- หนังสือมอบอำนาจ + อากรแสตมป์ 30 บาท (มีระยะเวลา 1 ปี)
บุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนพาณิชย์
- หนังสือมอบอำนาจ + อากรแสตมป์ 30 บาท (มีระยะเวลา 1 ปี)
ชาวต่างชาติ
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- สำเนาหนังสือรับรองการทำงาน (work permit)
- หนังสือมอบอำนาจ + อากรแสตมป์ 30 บาท (มีระยะเวลา 1 ปี)
เอกสารแนะนำการสั่งผลิตเครื่องสำอางกับบริษัท มายา แคร์ แลบส์ จำกัด
1.ทางร้านรับยื่น ขอเลขใบรับแจ้งกับทาง อ.ย. ในกรณีที่ลูกค้ามีรหัสผู้ประกอบการเป็นผู้ว่าจ้างการผลิตที่ได้ขึ้นทะเบียนกับทาง อ.ย. ไว้แล้วเท่านั้น
2.ลูกค้า (ผู้ว่าจ้างผลิต) ต้องทำการเซ็นต์สัญญากับ ผู้ผลิต (บริษัท มายา แคร์ แลบส์ จำกัด) เพื่อเป็นเอกสารแนบ ข้อมูลเครื่องสำอาง
3.เมื่อได้รหัสเป็นผู้ว่าจ้างการผลิตแล้ว จึงจะสามารถขอ เลขที่รับแจ้ง อย. ให้ลูกค้าได้ โดยทาง บริษัท มายา แคร์ แลบส์ จำกัด จะเป็นผู้ผลิต และลูกค้าจะผู้จัดจำหน่าย
– ค่าดำเนินการในการขอเลขที่จดแจ้ง 1 ผลิตภัณฑ์ (กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เดี่ยว)
– แต่ถ้าต้องการขอเลขที่ใบจดแจ้งเป็น 1 ผลิตภัณฑ์แต่หลายสีหลายกลิ่น ก็สามารถทำได้ในกรณีที่สูตรเหมือนกัน แต่ต่างสีหรือกลิ่นกันเท่านั้น โดยคิดค่าดำเนินการ 4,500 บาท (ไม่เกิน 5 สีหรือ5 กลิ่น ต่อ 1 เลขที่รับแจ้ง)
– ค่าดำเนินการในการขอ Certificate CFS (Certificate of Free Sale ) และ หรือ CPO (Certificate of Product origin ) คิดค่าดำเนินการ ฉบับละ 1,500 บาท
4.ข้อมูลเพิ่มเติมที่ทางร้านต้องการเพื่อไปขอยื่นจดแจ้งกับ อ.ย. มีดังนี้
– รหัสผู้ประกอบการในการเป็นผู้ว่าจ้างการผลิต
– ชื่อการค้า (ภาษาอังกฤษและภาษาไทย) เช่น MAYA / มายา เป็นต้น
– ชื่อผลิตภัณฑ์ (ภาษาอังกฤษและภาษาไทย) เช่น ชื่อภาษาอังกฤษ : Vit C Moisturizing Body Lotion
ชื่อภาษาไทย : วิต ซี มอยซ์เจอไรซิ่ง บอดี้ โลชั่น
– ลักษณะภาชนะบรรจุ และ ขนาดบรรจุภัณฑ์ รวมถึงฉลากตัวอย่าง(กรณีที่ยังไม่ได้เลขจดแจ้ง) และฉลากจริง(เมื่อแล้วเสร็จจริง)
– เอกสารอื่นๆ จะเรียกขอแล้วแต่ละกรณีไป – ชื่อและคำต้องห้าม ที่ห้ามใช้ ทางร้านจะเช็คกับทาง อย และ ดูเป็นกรณีไป
ในกรณีที่ลูกค้ายังไม่มีรหัสผู้ว่าจ้างการผลิต
ขั้นตอนที่ 1 ลูกค้าจะต้องมีใบทะเบียนพาณิชย์ที่ระบุชื่อการค้า (ชื่อแบรนด์ ) ของลูกค้า โดยไปยื่นขอที่เขต หรือ อ.บ.ต ที่รับผิดชอบในพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการ ในกรณีที่ขอเป็นบุคคลธรรมดา
เอกสารที่ต้องเตรียมคือ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านของสำนักงานสถานที่จำหน่ายหรือสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์
- รูปถ่ายด้านหน้าของสถานประกอบการ หนังสือสัญญาเช่า (ถ้ามี) ,
- ใบอนุญาตยินยอมให้ใช้อาคาร หรืออื่นๆ แล้วแต่สำนักงานเขตหรือ อ.บ.ต. นั้นๆ และยื่นขอเป็นผู้จัดจำหน่าย เครื่องสำอาง ในชื่อแบรนด์หรือชื่อการค้า ของลูกค้า (แต่ในกรณีที่จดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท ต้องไปยื่น ขอที่กระทรวงพาณิชย์ เอกสารในการจัดเตรียมต้องดูรายละเอียดกับกระทรวงพาณิชย์)
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากได้ทะเบียนพาณิชย์ ที่ระบุ ชื่อแบรนด์ หรือชื่อการค้า และเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องสำอาง แล้ว ลูกค้าต้องไป
- ขอรหัสผู้ประกอบการในการเป็นผู้ว่าจ้างการผลิต กับสำนักงานอาหารและยา ที่กระทรวงสาธารณสุข แผนกเครื่องสำอาง (ศูนย์บริการ One Stop Service ) โดยทางเราจะออกจดหมายและหนังสือมอบอำนาจให้ลูกค้าไปยื่น (ลูกค้าต้องส่งเลขทะเบียนพาณิชย์ และเลขบัตรประจำตัวประชาชน มาให้ทางผู้ผลิตกรอกเอกสารก่อนที่จะไปยื่น ) เพื่อเป็นข้อมูลในจดหมายและหนังสือมอบอำนาจ และ
- ลูกค้าต้องเตรียมเอกสารดังนี้
1.สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนการค้า ที่ระบุชื่อแบรนด์ หรือชื่อการค้า
2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจในทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนการค้า
3.แผนที่แสดงที่ตั้งของสำนักงาน และสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
4. แผนผังภายในสถานที่จัดจำหน่าย หรือสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
5.ภาพถ่ายของสำนักงาน หรือสถานที่เก็บเครื่องสำอาง
6.หนังสือมอบอำนาจ ( F-C2-11 (0-28/04/58) สามารถดาวน์โหลด ได้ทางอินเตอร์เน็ต
7.จดหมายแจ้งจำนง ขอรหัสผู้ว่าจ้างการผลิต (ทางผู้รับจ้างผลิตจะออกให้)
8.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับจ้างผลิต (ทางผู้รับจ้างผลิตจะออกให้)
9.เอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ ในกรณีเป็นนิติบุคคล ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลด้วย
หมายเหตุ :
– สินค้าที่ยื่นขอใบรับแจ้ง ต้องเป็นสินค้าที่ผลิตกับทางเราเท่านั้น
– เลขที่จดแจ้ง อ.ย. หรือใบรับแจ้ง มีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ได้รับเลขที่จดแจ้ง
– ทางร้านขอสงวนสิทธิ์ในการ ยกเลิกเลขที่จดแจ้ง ผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ ในกรณีที่ลูกค้าขาดการสั่งผลิตสินค้านั้นๆ เป็นเวลานาน 9 เดือนขึ้นไป โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสวม เลขที่จดแจ้ง เครื่องสำอาง หรือหากลูกค้าไม่ปฎิบัติตามกติกาที่ได้ตกลงกันไว้
เอกสารจำเป็นอื่นๆ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ เวชสำอาง และการจดแจ้ง อ.ย.
เลขที่ใบรับแจ้ง คือ รัฐจะออกใบรับแจ้งเรียงตามลำดับที่มีผู้มาแจ้งรายละเอียดในแต่ละปี และแสดงเลขลำดับที่ตอนบนของใบรับแจ้ง
เลขที่ใบรับแจ้งจะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้เกี่ยวกับการแจงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางควบคุม แต่ละรายการเลขที่ใบรับแจ้ง เป็นข้อความอันจำเป็นที่ฉลากของเครื่องสำอางด้วย ดั้งนั้นเมื่อผู้บริโภคอ่านฉลากก็จะสามารถรู้โดยง่ายว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้แจ้งรายละเอียดเบื้องต้นไว้กับรับแล้วหรือไม่ หรือหากไม่แน่ใจก็สามารถใช้เลข 10 หลักนั้นสืบค้นในฐานข้อมูลของสำนักงานฯ ในเรื่องของกฎหมายจะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2554 เป็นต้นไป หากไม่มี เลขที่ใบแจ้งบนฉลาก จะมีความผิดตามมาตรา 57 ข้อหาแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และถูกเพิกถอนใบรับแจ้ง แต่ถ้าเป็นการกระทำของผู้ผลิต หรือนำเข้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขที่ใบรับแจ้งที่ได้รับ ถือว่าเป็นเลขจำเพาะของสินค้านั้นๆ ไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องสำอางชนิดอื่นได้
หมายเหตุ:
มายา แคร์ แลบส์ ขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองสูตรเครื่องสำอาง ไม่ครอบคลุมถึงการนำไปโฆษณาสรรพคุณเกินจริง และ ขอให้ลูกค้าคำนึงถึงการเขียนคำโฆษณาบนฉลากต้องปฏิบัติตามกฎของอย ดังนี้ ไม่บรรยาย / โฆษณาสรรพคุณเกินขอบข่ายความเป็นเครื่องสำอาง หรือบรรยายสรรพคุณไปในทางยา การบำบัดรักษา หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกาย หากฝ่าฝืน จะยินยอมให้ยกเลิก หรือเพิกถอนใบรับแจ้งทันที และยินยอมให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทางบริษัท มายา แคร์ แลบส์ ถือความรับผิดชอบการรับรองความสะอาด และปลอดเชื้อในการบรรจุ เฉพาะที่สั่งบรรจุกับทางบริษัทเท่านั้น (ไม่ครอบคลุมถึงการนำผลิตภัณฑ์ไปแบ่งบรรจุเอง)
ข้อควรระวังเกี่ยวกับเลขที่ใบรับแจ้ง อ.ย.
– เลขที่ใบรับแจ้งจะต้องตรงกับ ชื่อการค้า / ชื่อผลิตภัณฑ์ / ชื่อผู้ผลิต /ผู้จัดจำหน่าย / และบรรจุภัณฑ์ที่ยื่นขอ
– ใช้ อ.ย. ของทางร้านได้ในช่วงทดลองขาย เพื่ออ้างอิงว่าสินค้าที่ อ.ย. ถูกต้อง แต่ต้องใช้รายละเอียด (ชื่อการค้า ชื่อสินค้า ชื่อผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่าย) ตามฉลากที่ระบุเท่านั้น
– หากลูกค้าต้องการใช้ เลข อ.ย. ที่ถูกต้อง สามารถขอเลข ที่ใบรับแจ้งได้ โดยทาง มายา เป็นผู้ผลิต และชื่อการค้าของลูกค้าเป็นผู้จัดจำหน่าย ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ได้
– สัญลักษณ์ อย. ใช้กับอาหารและยา ส่วนเครื่องสำอางใช้คำว่า เลขที่ใบรับแจ้ง
[block id=”inside1″]